1. ชื่อโครงการ แนวใหม่ในการสร้างพฤติกรรมการบริโภคอาหาร/ขนม ที่เหมาะสม
2.หลักการและเหตุผล
เนื่องจากเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มประชากรสำคัญที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนาพฤติกรรมอนามัย และสร้างสุขนิสัยของเด็ก ประชากรกลุ่มวัยเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มประถมศึกษา ครอบคลุมประชากรถึง……คน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาวะที่ดี การดำเนินโครงการในโรงเรียนซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการส่งเสริมสุขภาพ โดยผ่านกลยุทธ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จากการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน พบว่า ประเด็นสำคัญซึ่งยังคงเป็นปัญหาในโรงเรียน คือ ความสะอาดด้านอาหาร ส้วมที่ขาดสุขลักษณะในโรงเรียนและปัญหาด้านทันตสุขภาพ ซึ่งเกี่ยวข้อง กับการบริโภคอาหารที่เป็นอันตรายต่อฟัน ได้แก่ อาหารหรือขนมว่าง ประเภทหวานจัด มันจัด หรือเค็มจัด
1. เพื่อปรับเปลี่ยนบทบาทของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการสร้างสุขภาพแนวใหม่ โดยการสร้างทีมสุขภาพระดับจังหวัดและทีมสุขภาพระดับพื้นที่
2. สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพื่อจัดให้มีและดำเนินกระบวนการแก้ปัญหาการบริโภคขนมและอาหารว่างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แบบ Whole School Approach ศึกษาเงื่อนไขหรือปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง
3. ผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะที่ชัดเจนในระดับพื้นที่ หรืออย่างน้อยที่สุดในระดับโรงเรียน เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคขนมและอาหารว่างที่มีอันตรายต่อสุขภาพที่เป็นไปได้ ได้ผล และยั่งยืน
4. กลุ่มเป้าหมาย
ดำเนินการใน 3 อำเภอ ที่มีอัตราป่วยของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มากที่สุด และจังหวัดได้มีการจัดทำโครงการ PP area based ในการแก้ไขปัญหา ที่เน้นกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรค ได้แก่ อำเภอเมือง, สูงเม่น, ร้องกวาง โดยคัดเลือกศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีความพร้อมและสมัคร จำนวน 10 แห่ง แต่ละศูนย์สุขภาพชุมชน คัดเลือกโรงเรียนในเขตรับผิดชอบดำเนินการ 1 แห่ง รวม 10 โรงเรียน
5. วิธีดำเนินการ
1. ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นโรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี มีทีมงานภายในโรงเรียนที่เข้มแข็ง และผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุนการดำเนินงาน
2. อบรมเรื่องการวิเคราะห์ชุมชนให้กับทีมสร้างสุขภาพ
3. สำรวจสถานการณ์ปัญหาภาวะโภชนาการ ทันตสุขภาพ และสถานการณ์การบริโภคขนมและอาหารว่าง พร้อมทั้งระบุตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของเครือข่ายที่ชัดเจนและเจาะจง
4. ประชุมเพื่อเพิ่มทักษะ ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการดำเนินงานตามแนวคิดโรงเรียนแสนสุข
5. จัดและดำเนินกิจกรรมแก้ปัญหาการบริโภคขนมและอาหารว่างที่มีอันตรายต่อสุขภาพ แบบ Whole School Approach โดยทีมสุขภาพระดับพื้นที่ และทีมสุขภาพระดับจังหวัด
6. จัดประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อกำหนดเป้าหมายและจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และข้อค้นพบต่างๆ จากการดำเนินโครงการ
7. ออกเยี่ยมพื้นที่เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัญหาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนให้การสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่าย
8. จัดให้มีการดูงานระหว่างพื้นที่ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดทำเอกสารสรุปข้อค้นพบที่ได้จากการดำเนินโครงการ
6. ระยะเวลาในการดำเนินการ มีนาคม 2550 – มีนาคม 2551
7. สถานที่ดำเนินการ
จังหวัดแพร่
8. งบประมาณ
1. จัดประชุมทีมสุขภาพเพื่อปรับแนวคิดการทำงานด้านสร้างสุขภาพแนวใหม่
ค่าตอบแทน/ใช้สอย/วัสดุ/ เงิน 5,000 บาท
2. อบรมเรื่องการวิเคราะห์ชุมชนให้กับทีมสร้างสุขภาพ (3 วัน)
- ค่าอาหาร อาหารว่าง 50 คน x 300 บาท x 3 วัน เงิน 45,000 บาท
- ค่าที่พัก 50 คน x 400 บาท x 3 วัน 40,000 บาท
- ค่าวิทยากร 12,000 บาท
- ค่าพาหนะ 30,000 บาท
- ค่าวัสดุ 20,000 บาท
รวมเงิน 142,000 บาท
3. ประชุมเพื่อเพิ่มทักษะครูและนักเรียนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการทำงานร่วมกัน
- ค่าอาหาร 100 x 200 x 2 40,000 บาท
- ค่าวิทยากร 40,000 บาท
- ค่าพาหนะ 30,000 บาท
- ค่าวัสดุ 20,000 บาท
รวมเงิน 130,000 บาท
4. จัดกระบวนการแก้ปัญหาการบริโภคขนม/อาหารว่างในโรงเรียน 10x3,000
เป็นเงิน 30,000 บาท
1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ Knowledge Management เป็นเงิน 25,000 บาท
2. ค่าจัดทำเอกสาร, วีซีดี เพื่อเผยแพร่ 10,000 บาท
3. ค่าติดตามงานพื้นที่ 50,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 392,000 บาท
(สามแสนเก้าหมื่นสองพันบาทถ้วน)
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้เงื่อนไขหรือปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการสร้างเครือข่ายสร้างสุขภาพที่เข้มแข็ง เพื่อจัดให้มีและดำเนินกระบวนการแก้ปัญหาการบริโภคขนมและอาหารว่างที่มีอันตรายต่อสุขภาพ แบบ Whole School Approach
2. ได้กลวิธีที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเครือข่ายสร้างสุขภาพที่เข้มแข็ง
3. ได้แนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่และทีมงานด้านสาธารณสุขให้มีสมรรถนะในการเป็น Facilitator ของการสร้างสุขภาพ
4. โรงเรียนมีโครงการ/รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในการสร้างพฤติกรรมบริโภคอาหาร ขนม ที่เอื้อต่อสุขภาพที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
10. ผู้รับผิดชอบโครงการ พัทธ์ธีรา งามญาณ ม.6/6 เลขที่ 29